วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

MORPHOLOGY OF PRIMARY AND SECONDARY SKIN LESIONS

Morphology of skin lesions



การที่มีคำศัพท์เฉพาะเพื่ออธิบายรอยโรคต่างๆ เป็นสิ่งคำคัญ เนื่องจากโรคทางผิวหนังส่วนหนึ่งสามารถ วิจนิจฉัยได้จากการดูรอยโรค การอธิบายเพื่อสื่อความหมายไปในแนวทางเดียวกัน จะช่วยให้สามารถเข้าใจรอยโรคโดยที่ไม่ได้เห็น หรือสัมผัส ด้วยตนเองได้


คำศัพท์เฉพาะของรอยโรคทางผิวหนัง
การเรียนรู้คำศัพท์เฉพาะแบ่งได้ ดังนี้ .............
... 1. Primary skin lesions
... 2. Secondary skin lesions
... 3. Special skin lesions


โดยอาศัย การอธิบายรอยโรคง่ายๆ เช่น

- Size
- Color or additional descriptive terms ( e.g., pigmentation,shape)
- Type of primary, secondary, or spacial skin lesions (e.g., papule,macule)
- Arrangement (e.g., ground lesions)
- Distribution (e.g., truncal,generalized)



1. Primary skin lesions
เป็นรอยโรคที่ผิวหนังระยะเริ่มแรก ที่ไม่มีการบาดเจ็บ รอยแผล จากการแกะเกา หรือขัดถู เช่น ...



..Macules _____Wheals
..Papules _____Vesicles
..Plaques _____Bullae
..Patches _____Pustules
..Nodules _____Cysts



-- Macule รอยโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะสี ลักษณะแบนราบ เรียบ ไม่นูน เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ซม. เช่น Tinea versicolor,Cafe au lait ,Vitiligo,Freckle,Junctional nevi,Ink tatoo



-- Patch รอยโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะสี ลักษณะแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 ซม. เช่น Nevus flammeus,Vitiligo



-- Papule รอยโรคที่นูนแข็งเหนือระดับผิวหนัง ผิวอาจเรียบ ขรุชระหรือบุ๋มตรงกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.5 ซม. เช่น Acrochonordon(skin tag),Basal cell carcinoma,Molluscum contagiosum,Intradermal nevi



-- Plaque รอยโรคที่นูนแข็งเหนือระดับผิวหนัง ผิวอาจเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 0.5 ซม. เช่น Bowen 's disease,Mycosis fungoides,Psoriasis,Eczema,Tinea corporis


-- Nodule รอยโรคแบบนูนแข็ง รูปร่างกลมหรือรี และ ลึกไปใต้ผิวหนัง เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ซม. เช่น Rheumatoid nodule,Tendon xanthoma,Erythema nodusum,Lipoma,Metastatic carcinoma

-- Cyst รอยโรคแบบนูน รูปร่างกลมหรือรี และ ลึกไปใต้ผิวหนัง เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 ซม. เช่น Acne,Epidermal inclusion cyst,Pilar cyst



-- Vesicle ตุ่มน้ำใส มีของเหลวอยู่ภายใน อาจเป็นน้ำเหลืองหรือเลือดก็ได้ ผนังตุ่มมักบาง เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ซม. เช่น เริม(Herpes simplex), อีสุกอีใส ,Herpes zoster,Dyshidrotic eczema,Contact dermatitis


-- Bulla ตุ่มน้ำใส มีของเหลวอยู่ภายใน อาจเป็นน้ำเหลืองหรือเลือด เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 0.5 ซม. เช่น Pemphigus vulgaris,Bullous pemphigoid,Bullous impetigo



-- Pustule vesicle or bulla ตุ่มหนองสีเหลือง สีขาว หรือเขียว อาจเกิดที่ผิวหนังทั่วไปหรือที่รูขุมขน เช่นFolliculitis , Impetigo , Acne ,Pustular psoriasis


-- Wheal ผื่นผิวหนัง หรือเยื่อบุบวมนูน จากการบวมน้ำในชั้นหนังแท้ มีขอบเขต อาจจะเป็นpapule หรือเป็นplaque รูปร่างจะเปลี่ยนแปลง บวมเร็ว ยุบเร็ว และคัน พบมากใน urticaria อาจหายเองโดยไม่ต้องรักษา เช่น Urticaria,Dermographism,Urticaria pigmentosa


-- Verrucous เป็นผิวหนังที่ขรุขระคล้ายหงอนไก่


2. Secondary skin lesions

รอยโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจาก primary skin lesions โดยเกิดจาก scratching,scrubbing,or infection เช่น...


..Crusts _______Scale

..Ulcers _______Fissures

..Excoriations ___Scars

..Erosions



-- Crust สะเก็ดแห้งกรังบนผิวหนัง ของเนื้อเยื่อ,น้ำเหลืองและเลือด(scab)



-- Scale ขุยบางๆ หรือแผ่นสะเก็ดซึ่งเป็นผลจากการหลุดลอกตัวของผิวหนังชั้นบนสุดเร็วกว่าผิวหนังปกติ



-- Fissure ร่องรอยแตกของ ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจนถึงหนังแท้





-- Erosion รอยถลอกเกิดจากชั้นกำพร้าหลุดไป หายได้ไม่เป็นแผลเป็น



-- Ulcer รอยแผลที่เกิดจากชั้นกำพร้าหลุดไป เป็นแผลลึกไปถึงชั้นหนังแท้ หรือชั้นไขมันได้


-- Scar บริเวณที่มี fibrosis or new connective tissure ของชั้นหนังแท้


-- Atrophy ผิวหนังที่บางลงกว่าเดิม เป็นได้ ทั้งชั้นหนังกำพร้าหรือชั้นหนังแท้ รวมถึง ชั้นไขมัน การบางลงของผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจะทำให้เกิดรอยย่นตื้นๆ และการบางลงของผิวชั้นหนังแท้หรือชั้นไขมันส่งผลให้เกิดรอยบุ่ม


-- Lichenification ผิวหนังที่แห้ง ด้าน หนาและ แข็ง กว่าปกติ เกิดจากการเกาหรือถูเรื้อรังเป็นเวลานาน

-- Excoriation รอยถลอกจากการเกาบนผิวหนังคล้ายรอยขีดข่วน



3. Special lesion



..Telangiectasias____Purpura
..Petechiae________Comedones
..Burrows_________Target lesions


-- Telangiectasia ภาวะเส้นเลือดฝอยขยายตัวผิดปกติ จากการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย(capillaries,arterioles,or venules) มีลักษณะเห็นเป็นเส้นแขนงเส้นเลือดฝอยสีแดง แตกเป็นกิ่งก้านสาขาบริเวณผิวหนัง พบรอยโรคนี้ได้จากโรค เช่น dermatomyositis, SLE , progressive systemic sclerosis และ พบบ่อยในกลุ่มที่ใช้ยาทาสเตียรอยด์,ถูกแสงแดดเป็นเวลานานๆ อีกทั้งสามารถพบได้ที่เนื้องอกประเภท nodulo-ulcerative basal cell carcinoma




-- Burrow เป็นเส้นทางเดินตื้นๆของพยาธิใต้ผิวหนัง โดยผ่านผิวหนังชั้นหนังกำพร้า เช่น ตัวหิด ไร บริเวณข้อมือ และ ง่ามนิ้ว

-- Comedo คือการสะสมไขมันและเศษผิวหนังที่หลุดลอก มีการอุดตันที่รูขุมขน จนเกิดเป็นสิวอุดตันได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สิวหัวเปิด (สิวหัวดำ) และ สิวหัวปิด (สิวอุดตันที่ไม่มีรูเปิด)

-- Petechiae เป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนัง (เล็กกว่า purpura) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 มม.



-- Purpura เป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนัง ขนาดใหญ่มากกว่า 5 มม.





-- Target lesion รอยโรคคล้ายเป้ายิงธนู ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ตรงกลางมีสีเข้ม วงรอบนอกออกมามีสีจางกว่า และริมสุดสีแดง ซึ่งพบได้ในโรค erythema multiforme



Color or pigmentation

-- Depigmentation ไม่มีเซลล์สร้างเม็ดสี ที่เรียกว่า melanocytes จึงทำให้ไม่มีสี พบในโรคด่างขาว

-- Hypopigmentation ผิวสีอ่อนหรือจางกว่าสีผิวปกติ เกิดจาก มีจำนวน melanocytes ปกติ แต่การผลิตเม็ดสีลดลง พบได้ในโรค tuberous sclerosis

-- Hyperpigmentation ผิวสีเข้มกว่าผิวปกติ พบได้ในโรค junctional nevi, cafe au laitmacules(neurofibromatosis)

-- Erythematous ผิวมีสีแดง


Arrangements or configurations


-- Annular ใช้อธิบายรอยโรคที่มีลักษณะคล้ายแหวน (ring-shaped) พบลักษณะ Annular plaques ได้ในโรค granuloma annular ,tinea corporis(ring worm) ,and erythema marginatum


-- Gyrate ใช้อธิบายรอยโรคที่โค้งเป็นวง (to turnaround in a circle) พบน้อย เช่น erythema gyratum repens


-- Dermatomal ใช้อธิบายรอยโรคที่เกิดตาม แนวของเส้นประสาทที่ผิวหนัง(neurocutaneous dermatomes) เช่น โรคงูสวัด พบว่าเป็น grouped vescicles on an erythematous base in a dermatomal distribution


-- Linear ใช้อธิบายรอยโรคที่เป็นเส้น เช่น allergic contract dermatitis to poison ivy;ลักษณะ linear erythematous papules or vescicles


-- Grouped ใช้อธิบายลักษณะการรวมกลุ่มของรอยโรค เช่น herpes simplex ; ลักษณะ grouped vesicles on an erythematous base


Koebner phenomenon

การเรียงตัวของผื่นเป็นทางยาวบนรอยเกา หรือรอยแผล พบได้ใน lichen planus, lichen nitidus ,and psoriasis


Location สามารถบ่งชี้ถึงโรคนั้นๆได้
เช่น Seborrheic dermatitis พบรอยโรคที่บริเวณ scalp,nasolabial fold,retroauricular areas,eyelids,eyebrows and presternal areas ยกเว้น ตามแขนขา ส่วน Psoriasis พบรอยโรคที่บริเวณ extremities( elbows,knees) ,intergluteal fold, scalp, and nails










































































































































เรื่อง... ผิวหนัง ( Structure and Function of the Skin )

Structure and Function of the Skin






ผิวหนัง ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ


1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็นชั้นที่อยู่บนสุด องค์ประกอบหลัก คือ keratinocytes or epidermal cells

2. ชั้นหนังแท้ (Dermis หรือ corium) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นหนังกำพร้า องค์ประกอบหลัก คือ collagen และมี hair follicles ,sebaceous glands ,apocrine glands ,and eccrine glands รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นยังมี blood vessles ,lymphatics, and nerves เป็นจำนวนมาก

3. ใต้ชั้นหนังแท้จะเป็นชั้น Hypodermis , Subcutis หรือ Subcutaneous fat ซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่าง หลวมๆ (loose connective tissues) และไขมัน (Adipose tissues) ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน ในแต่ละส่วนของร่างกาย ร่วมกับ larger blood vessles ,and nerves และนอกจากนี้ ยังมีส่วนใต้สุดของ hair follicle and sweat glands รวมอยู่ด้วย





ผิวชั้นหนังกำพร้า (EPIDERMIS)

มีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 0.4 ถึง 1.5 มิลลิเมตร เทียบกับความหนาทั้งหมดของผิวหนัง (skin) ซึ่งมีความหนาเฉลี่ยโดยประมาณ 1.5-4.0 มิลลิเมตร ความหนาของชั้น epidermis นี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณของร่างกาย

ประกอบไปด้วย ...

-- Keratinocytes กลุ่มเซลล์ที่มีการเกิด เจริญเติบโตพัฒนาการ และตายลอกหลุดออกไปจากร่างกายตลอดเวลา
-- Dendritic cells เซลล์กลุ่มนี้คือกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายกันคือมี cytoplasm ยื่น ( dendritic processes) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือ Melanocytes , Merkel cells และ Langerhans cells
-- Skin derivatives or appendages อันได้แก่ ขน รูขุมขน (Hair Follicle) และต่อมไขมัน (the sebaceous follicle, sebaceous glands, and sebaceous ducts) รวมเรียกว่า Pilosebaceous units / ต่อมเหงื่อ (sweat glands) และเล็บ (Nails)


ชั้นหนังกำพร้ามีเซลล์ 4 ชนิด
1. เซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte) พบส่วนใหญ่ 90%
2. เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocytes) พบได้ 8 %
3. เซลล์ช่วยป้องกันเชื้อโรค (Langerhans cells)
4. เซลล์ที่ส่งความรู้สึกไปยังเซลล์ประสาท (Merkel cells)



เมื่อเซลล์ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนตัวออกมา ชั้นบนเรื่อยๆ ทำให้สามารถแบ่ง epidermis ออกเป็นชั้นต่างๆ โดยแต่ละชั้นก็จะมี keratinocytes ที่อยู่ใน ระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลง Epidermis จะแบ่งออกเป็น 4 หรือ 5 ชั้น ดังนี้























1. Basal Cell Layer or Stratum germinativum ( 1 Layer )


-ชั้นนี้จะอยู่ชั้นล่างสุด ติดกับ basement membrane
-ประกอบไปด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันชั้นเดียว ที่ชื่อว่า basal cells ซึ่งเป็น germinative cell ก่อให้เกิดการพัฒนาและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ซึ่งระหว่างเซลล์ Basal ประมาณ 7 ตัว จะมีเซลล์ Melanocytes 1 ตัว



basal cell แบ่งตัวให้กำเนิด keratonocytes และเคลื่อนที่มาชั้นบน กลายเป็นชั้นที่มีชื่อเรียกว่า Stratum spinosum ต่อไป

2 Germinative Layer ( Prickle cell layer or Stratum spinosum ) ( 10-13 Layers )

-ประกอบไปด้วย keratinocyte ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ หลายเหลี่ยม คล้ายมีหนามยื่นออกมาจากผิวเซลล์ (spine) เซลล์ในชั้นนี้มีหนามแหลมยื่นออกจากตัวเซลล์ จึงเรียกเซลล์ในชั้นนี้ว่า prickle cell
-ชั้นนี้ได้ชื่อตามรูปร่าง ของเซลล์ มีการสร้าง organelles ชนิดใหม่ที่เรียกว่า lamella granules หรือ membrane-coating granules (MCG) กระจายอยู่ทั่วไป



3. Granular Layer or Stratum granulosum ( 2-3 Layers )


-ชั้นนี้ได้ชื่อตามลักษณะของเซลล์ คือ granular cells
-เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างค่อนข้างแบน ภายใน cytoplasm บรรจุด้วย keratohyaline granules
ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีน
Profilaggrin keratin filament
• Loricrin
ทั้ง filaggrine keratin filament และ cornefied cell envelope จะรวมเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของ keratin (ขี้ไคล)
-จะเห็นได้ว่า keratohyaline granules เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญ หากเกิดความผิดปกติขึ้น หรือ ว่าหายไป ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มโรค ichthyosis
-เมื่อเซลล์เคลื่อนตัวและเปลี่ยนแปลงมาจนถึงตำแหน่งรอยต่อระหว่าง granular cell กับ corneocyte เซลล์ก็จะเปลี่ยนกลายเป็น corneocytes ในชั้น Stratum corneum



4. Cornifiled Layer ( Horny Layer or Stratum corneum) ( 10-20 Layers )


-ชั้นนี้ประกอบ ด้วยเซลล์ที่ชื่อว่า corneocyte ซึ่งเปลี่ยนมาจาก granular cell
-ภายใน cell ไม่มี organelles ชนิดใด ยกเว้น keratin ที่สมบูรณ์ แล้ว (mature keratin) เซลล์ ในชั้นนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุดใน epidermis
-เซลล์ในชั้นนี้มีหน้าที่ปกป้องผิวจากภยันตรายภายนอก (Mechanical protection), ป้องกันการสูญเสียน้ำไปจากผิวหนัง (Barrier to water loss) และเป็นด่านผ่านทางของยาหรือสารต่างๆ จากภายนอก
-ในชั้นนี้ Desmosome ซี่งเป็นตัวยึดระหว่างเซลล์จะเริ่มถูกทำลาย ทำให้แต่ละเซลล์แยกจากกันเริ่ม ขบวนการที่เรียกว่า Desquamation คือ การลอกหลุดของ corneocytes ออกไปเป็นขี้ไคล (keratin)
-ถ้าหาก ขบวนการ Desquamation ผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดโรคในกลุ่ม ichthyosis



-ชั้น Stratum corneum นี้จะมีความหนาบางแตกต่างกันในแต่ละบริเวณของร่างกาย
• Thick skin คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis หนา โดยเฉพาะstratum corneum พบบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ซึ่ง thick skin นี้จะไม่มี ขน รูขุมขน และกล้ามเนื้อ Arrector pili muscles (ยึดอยู่ระหว่างต่อมขนและ papillary layer ของหนังแท้ ) แต่จะมีต่อมเหงื่อ eccrine sweat glands เป็นจำนวนมาก
• Thin skin คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis บาง พบได้ทั่วร่างกาย ยกเว้น บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ซึ่งผิวหนัง ชนิดนี้จะมี skin derivatives ทุกชนิด คือ รูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และต่อม Apocrine sweat gland


-Thick skin นั้น จะมีชั้น Stratum lucidum เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชั้น ซึ่งชั้นนี้ จะไม่พบใน Thin skin ทั่วๆ ไป
5. Stratum lucidum


-เป็นชั้นบางๆ แทรกอยู่ระหว่างชั้น granular cell layers และ stratum corneum พบเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าเท่านั้น (Thick skin)
-สาร glycolipid ที่อยู่ใน MCG ถูกปล่อยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์มากกว่าบริเวณอื่น จึงเห็นเป็นชั้นนี้ขึ้น ซึ่งชั้นนี้จะไม่พบในผิวหนังบริเวณทั่วๆ ไป (Thin skin)