วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

เรื่อง... ผิวหนัง ( Structure and Function of the Skin )

Structure and Function of the Skin






ผิวหนัง ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ


1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็นชั้นที่อยู่บนสุด องค์ประกอบหลัก คือ keratinocytes or epidermal cells

2. ชั้นหนังแท้ (Dermis หรือ corium) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นหนังกำพร้า องค์ประกอบหลัก คือ collagen และมี hair follicles ,sebaceous glands ,apocrine glands ,and eccrine glands รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นยังมี blood vessles ,lymphatics, and nerves เป็นจำนวนมาก

3. ใต้ชั้นหนังแท้จะเป็นชั้น Hypodermis , Subcutis หรือ Subcutaneous fat ซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่าง หลวมๆ (loose connective tissues) และไขมัน (Adipose tissues) ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน ในแต่ละส่วนของร่างกาย ร่วมกับ larger blood vessles ,and nerves และนอกจากนี้ ยังมีส่วนใต้สุดของ hair follicle and sweat glands รวมอยู่ด้วย





ผิวชั้นหนังกำพร้า (EPIDERMIS)

มีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 0.4 ถึง 1.5 มิลลิเมตร เทียบกับความหนาทั้งหมดของผิวหนัง (skin) ซึ่งมีความหนาเฉลี่ยโดยประมาณ 1.5-4.0 มิลลิเมตร ความหนาของชั้น epidermis นี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณของร่างกาย

ประกอบไปด้วย ...

-- Keratinocytes กลุ่มเซลล์ที่มีการเกิด เจริญเติบโตพัฒนาการ และตายลอกหลุดออกไปจากร่างกายตลอดเวลา
-- Dendritic cells เซลล์กลุ่มนี้คือกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายกันคือมี cytoplasm ยื่น ( dendritic processes) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือ Melanocytes , Merkel cells และ Langerhans cells
-- Skin derivatives or appendages อันได้แก่ ขน รูขุมขน (Hair Follicle) และต่อมไขมัน (the sebaceous follicle, sebaceous glands, and sebaceous ducts) รวมเรียกว่า Pilosebaceous units / ต่อมเหงื่อ (sweat glands) และเล็บ (Nails)


ชั้นหนังกำพร้ามีเซลล์ 4 ชนิด
1. เซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte) พบส่วนใหญ่ 90%
2. เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocytes) พบได้ 8 %
3. เซลล์ช่วยป้องกันเชื้อโรค (Langerhans cells)
4. เซลล์ที่ส่งความรู้สึกไปยังเซลล์ประสาท (Merkel cells)



เมื่อเซลล์ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนตัวออกมา ชั้นบนเรื่อยๆ ทำให้สามารถแบ่ง epidermis ออกเป็นชั้นต่างๆ โดยแต่ละชั้นก็จะมี keratinocytes ที่อยู่ใน ระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลง Epidermis จะแบ่งออกเป็น 4 หรือ 5 ชั้น ดังนี้























1. Basal Cell Layer or Stratum germinativum ( 1 Layer )


-ชั้นนี้จะอยู่ชั้นล่างสุด ติดกับ basement membrane
-ประกอบไปด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันชั้นเดียว ที่ชื่อว่า basal cells ซึ่งเป็น germinative cell ก่อให้เกิดการพัฒนาและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ซึ่งระหว่างเซลล์ Basal ประมาณ 7 ตัว จะมีเซลล์ Melanocytes 1 ตัว



basal cell แบ่งตัวให้กำเนิด keratonocytes และเคลื่อนที่มาชั้นบน กลายเป็นชั้นที่มีชื่อเรียกว่า Stratum spinosum ต่อไป

2 Germinative Layer ( Prickle cell layer or Stratum spinosum ) ( 10-13 Layers )

-ประกอบไปด้วย keratinocyte ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ หลายเหลี่ยม คล้ายมีหนามยื่นออกมาจากผิวเซลล์ (spine) เซลล์ในชั้นนี้มีหนามแหลมยื่นออกจากตัวเซลล์ จึงเรียกเซลล์ในชั้นนี้ว่า prickle cell
-ชั้นนี้ได้ชื่อตามรูปร่าง ของเซลล์ มีการสร้าง organelles ชนิดใหม่ที่เรียกว่า lamella granules หรือ membrane-coating granules (MCG) กระจายอยู่ทั่วไป



3. Granular Layer or Stratum granulosum ( 2-3 Layers )


-ชั้นนี้ได้ชื่อตามลักษณะของเซลล์ คือ granular cells
-เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างค่อนข้างแบน ภายใน cytoplasm บรรจุด้วย keratohyaline granules
ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีน
Profilaggrin keratin filament
• Loricrin
ทั้ง filaggrine keratin filament และ cornefied cell envelope จะรวมเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของ keratin (ขี้ไคล)
-จะเห็นได้ว่า keratohyaline granules เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญ หากเกิดความผิดปกติขึ้น หรือ ว่าหายไป ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มโรค ichthyosis
-เมื่อเซลล์เคลื่อนตัวและเปลี่ยนแปลงมาจนถึงตำแหน่งรอยต่อระหว่าง granular cell กับ corneocyte เซลล์ก็จะเปลี่ยนกลายเป็น corneocytes ในชั้น Stratum corneum



4. Cornifiled Layer ( Horny Layer or Stratum corneum) ( 10-20 Layers )


-ชั้นนี้ประกอบ ด้วยเซลล์ที่ชื่อว่า corneocyte ซึ่งเปลี่ยนมาจาก granular cell
-ภายใน cell ไม่มี organelles ชนิดใด ยกเว้น keratin ที่สมบูรณ์ แล้ว (mature keratin) เซลล์ ในชั้นนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุดใน epidermis
-เซลล์ในชั้นนี้มีหน้าที่ปกป้องผิวจากภยันตรายภายนอก (Mechanical protection), ป้องกันการสูญเสียน้ำไปจากผิวหนัง (Barrier to water loss) และเป็นด่านผ่านทางของยาหรือสารต่างๆ จากภายนอก
-ในชั้นนี้ Desmosome ซี่งเป็นตัวยึดระหว่างเซลล์จะเริ่มถูกทำลาย ทำให้แต่ละเซลล์แยกจากกันเริ่ม ขบวนการที่เรียกว่า Desquamation คือ การลอกหลุดของ corneocytes ออกไปเป็นขี้ไคล (keratin)
-ถ้าหาก ขบวนการ Desquamation ผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดโรคในกลุ่ม ichthyosis



-ชั้น Stratum corneum นี้จะมีความหนาบางแตกต่างกันในแต่ละบริเวณของร่างกาย
• Thick skin คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis หนา โดยเฉพาะstratum corneum พบบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ซึ่ง thick skin นี้จะไม่มี ขน รูขุมขน และกล้ามเนื้อ Arrector pili muscles (ยึดอยู่ระหว่างต่อมขนและ papillary layer ของหนังแท้ ) แต่จะมีต่อมเหงื่อ eccrine sweat glands เป็นจำนวนมาก
• Thin skin คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis บาง พบได้ทั่วร่างกาย ยกเว้น บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ซึ่งผิวหนัง ชนิดนี้จะมี skin derivatives ทุกชนิด คือ รูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และต่อม Apocrine sweat gland


-Thick skin นั้น จะมีชั้น Stratum lucidum เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชั้น ซึ่งชั้นนี้ จะไม่พบใน Thin skin ทั่วๆ ไป
5. Stratum lucidum


-เป็นชั้นบางๆ แทรกอยู่ระหว่างชั้น granular cell layers และ stratum corneum พบเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าเท่านั้น (Thick skin)
-สาร glycolipid ที่อยู่ใน MCG ถูกปล่อยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์มากกว่าบริเวณอื่น จึงเห็นเป็นชั้นนี้ขึ้น ซึ่งชั้นนี้จะไม่พบในผิวหนังบริเวณทั่วๆ ไป (Thin skin)


ไม่มีความคิดเห็น: